โครงการ อบรมและส่งเสริมอาชีพในเขตเทศบาลนครขอนแก่น
กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครขอนแก่น
……………………………………………………..
1. หลักการและเหตุผล
การส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจระดับชุมชน ก่อให้เกิดรายได้ และแก้ปัญหาการว่างงานของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤตทางการเงิน เป็นกระบวนการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อสร้างชุมชนให้เข้มแข็งและพึ่งตนเองได้ และเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะส่งเสริมให้ประชาชนได้เกิดกลุ่มอาชีพที่หลากหลาย มีการพึ่งพาอาศัยกันและกัน เกิดความสามัคคีขึ้นในหมู่คณะ และชุมชนรายยังสามารถนำสินค้ามาจำหน่ายหรือแลกเปลี่ยนกันจะเป็นทุนหมุนเวียนในชุมชน และดึงให้ประชาชนในบริเวณใกล้เคียงมาใช้บริการเช่นเดียวกับการอุดหนุนร้านค้าในชุมชน สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมให้กินของไทย ใช้ของไทย ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจะเกิดประโยชน์แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกันอันจะส่งผลให้การแก้ไขปัญหาในระดับเศรษฐกิจรากหญ้า ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถกลุ่มอาชีพในเทศบาลนครขอนแก่นให้มีประสิทธิภาพความเข้มแข็งต่อชุมชน ให้สามารถพึ่งตนเองได้ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ ตลอดจนให้คนจนไม่มีอาชีพ ให้มีรายได้เสริมสามารถครองตนเองให้อยู่ได้ สนับสนุนกลุ่มอาชีพที่มีอยู่ให้ได้รับการต่อยอดเพื่อความเจริญเติบโตสามารถเป็นสินค้าที่ได้รับการยอมรับในระดับหนึ่ง อันจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาชนให้อยู่อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป
2.วัตถุประสงค์
2.1.เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ของชุมชน และพัฒนากลุ่มอาชีพเดิม
2.2.เพื่อส่งเสริมอาชีพตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
2.3.เพื่อส่งเสริมให้เกิดการสร้างรายได้และทุนหมุนเวียนภายในชุมชน
2.4.เพื่อให้ชุมชนมีระบบการบริหารจัดการที่ดีในกลุ่มอาชีพ
2.5.เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ในชุมชนไปสู่สินค้า OTOP
3. สถานที่ดำเนินการหรือกลุ่มเป้าหมาย
ประชาชน/องค์กร/กลุ่มอาชีพ/ผู้ด้อยโอกาสที่อยู่ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น
4. กิจกรรมราย/ละเอียดของโครงการ
4.1.ประชาสัมพันธ์โครงการให้ประชาชนได้รับทราบและเข้าร่วมโครงการภายใต้โครงการเทศบาลเล็กในเทศบาลใหญ่
4.2. เสนอโครงการต่อนายกเทศมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ
4.3. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อคัดกรองโครงการ
4.4. จัดอบรมกลุ่มอาชีพและจัดซื้อวัสดุ-อุปกรณ์
4.5. ติดตามและประเมินผลโครงการเป็นระยะ
5. ผลผลิต
5.1. กลุ่มอาชีพต่าง ๆ ในชุมชนได้รับการส่งเสริมและมีการแลกเปลี่ยนความรู้
5.2. ผู้ว่างงาน ผู้ตกงาน มีอาชีพรองรับ และบรรเทาปัญหาความเดือดร้อน
5.3.สนับสนุนให้เกิดผลิตภัณฑ์ชุมชน และพัฒนาให้มีคุณภาพไปสู่ตลาดภายนอกอย่างมีมาตรฐานสากล
5.4. ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง มีความรักความสามัคคี และเกิดการเรียนรู้ร่วมกันในชุมชน
6. ผลลัพธ์
- คุณภาพการบริหารจัดการธุรกิจชุมชนมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ตาม KPI หลักที่ 3และร้อยละของครอบครัวที่ได้รับการสนับสนุนมีรายได้เพิ่มขึ้น ตาม KPI ร่วมกับ สำนัก/กอง หลักที่ 3
***************************