ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักปลัดเทศบาล

เทศบาลนครขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

การปฏิบัติก่อนเกิดสาธารณภัย

1) การป้องกันและลดผลกระทบ

1.1 การวิเคราะห์ความเสี่ยงภัย

แนวทางปฏิบัติ
1. ประเมินความเสี่ยงภัยและความล่อแหลมในเขตพื้นที่ โดยพิจารณาจากข้อมูลสถิติการเกิดภัยและจากการวิเคราะห์ข้อมูลสภาพแวดล้อมต่างๆ
2. 
จัดทำแผนที่เสี่ยงภัย แยกตามประเภทภัย

ผู้รับผิดชอบ 
1. ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักปลัดเทศบาลเป็นผู้รับผิดชอบหลัก
2. สำนักการช่าง
3. กองวิชาการและแผนงาน
4. 
ประธานชุมชน 94 ชุมชน

1.2 การเตรียมการด้านฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศ

แนวทางปฏิบัติ
1. จัดทำฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการสาธารณภัย เช่น เครื่องจักรกล วัสดุ อุปกรณ์เพื่อการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัย สถิติการเกิดภัย พื้นที่และความรุนแรงของภัย และกำหนดให้มีเจ้าหน้าที่ผู้รวบรวมข้อมูล บันทึกเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติในพื้นที่ เช่น ภาพถ่าย เป็นต้น
2. 
พัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลด้านสาธารณภัยระหว่างหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพและสามารถใช้งานได้ร่วมกัน
3. ส่งเสริมการขึ้นทะเบียนผู้ประสบภัยกับสำนักสวัสดิการ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการอพยพและสงเคราะห์ผู้ประสบภัย

ผู้รับผิดชอบ 
1. ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักปลัดเทศบาลเป็นผู้รับผิดชอบหลัก
2. กองวิชาการและแผนงาน
3. 
สำนักสวัสดิการสังคม 

1.3 การเตรียมการป้องกันด้านโครงสร้างและเครื่องหมายสัญญาณเตือนภัย

แนวทางปฏิบัติ
1. ปรับปรุงและจัดหาพื้นที่รองรับผู้ประสบภัย
2. 
ติดตั้งหอกระจายข่าวประจำชุมชนแต่ละชุมชน,ให้อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนใช้วิทยุสื่อสารในการเป็นสื่อเพื่อส่งข่าวสารให้แต่ละชุมชน เพื่อลดความรุนแรงและป้องกันความเสียหายแก่สถานที่สำคัญในพื้นที่ หรือการสูญเสีย
3. ปรับปรุงสถานที่เพื่อเป็นสถานที่หลบภัยชั่วคราว สำหรับพื้นที่ที่การอพยพหนีภัยทำได้ยากหรือไม่มีพื้นที่หลบภัยที่เหมาะสม เพื่อเตรียมการอพยพไปยังสถานที่รองรับการอพยพต่อไป
4. ก่อสร้าง/ปรับปรุงเส้นทางเพื่อการส่งกำลังบำรุง หรือเส้นทางไปสถานที่หลบภัยให้ใช้การได้ตลอดเวลา
5. จัดเตรียมระบบการแจ้งข่าวภัยระบบเตือนภัย ป้ายเตือนภัย ป้ายเส้นทางหนีภัยรวมทั้งสัญญาณเตือนภัยรูปแบบต่างๆ เพื่อแจ้งเตือนภัยให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ได้รับทราบล่วงหน้า

ผู้รับผิดชอบ 
1. สำนักสวัสดิการสังคม เป็นผู้รับผิดชอบหลัก
2. ประธานชุมชน 94 ชุมชน
3. อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
4. สำนักการช่าง (ข้อ 4)
5. ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักปลัดเทศบาลเป็นผู้รับผิดชอบหลัก (ข้อ 5)

2) การเตรียมความพร้อม

2.1 ด้านการจัดระบบปฏิบัติการฉุกเฉิน

แนวทางปฏิบัติ
1. จัดทำคู่มือการตอบโต้สาธารณภัยและจัดทำแผนเผชิญเหตุ และมีการฝึกซ้อมแผนเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เคยประสบภัย
2. 
จัดเตรียมระบบการติดต่อสื่อสารหลัก สื่อสารรอง และสื่อสารสำรอง รวมทั้งกำหนดช่องความถี่กลางด้านสาธารณภัย และมีการฝึกซ้อมการอำนวยการสื่อสารอย่างสม่ำเสมอ
3. จัดเตรียมเส้นทางอพยพสถานที่ปลอดภัยสำหรับคนสัตว์เลี้ยง และปศุสัตว์ รวมทั้งพื้นที่รองรับการดูแลรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บ
4. จัดเตรียมทะเบียนรายการสิ่งของจำเป็น เช่น อาหาร เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
5. กำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยความสงบเรียบร้อยการควบคุม การจัดการจราจรและเส้นทางการสัญจร รวมทั้งกำหนดจุดขึ้นลงยานพาหนะภายในเขตพื้นที่ประสบภัย
6. จัดระบบการสงเคราะห์ผู้ประสบภัยและการดูแลสิ่งของบริจาค
7. จัดทำและปรับปรุงบัญชีรายชื่อคนที่ต้องช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ
 

ผู้รับผิดชอบ 
1. ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักปลัดเทศบาลเป็นผู้รับผิดชอบหลัก
2. สำนักสวัสดิการสังคม
3. กองวิชาการและแผนงาน
4. 
สำนักการช่าง
5. ตำรวจ
6. ประธานชุมชน 94 ชุมชน
7. อปพร.,อสม.,อาสาสมัครต่างๆ

2.2 ด้านการส่งเสริมการให้ความรู้และสร้างความตระหนักเรื่องการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

แนวทางปฏิบัติ
1. สนับสนุนการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ด้านสาธารณภัยในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกและวัฒนธรรมความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง
2. 
จัดให้มีกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน เช่น การปลูกป่า การใช้หญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดิน   และน้ำ
3. พัฒนารูปแบบและเนื้อหาการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ชัดเจนเข้าใจง่าย เหมาะสม เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม
4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรเครือข่ายในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และอาสาสมัครต่างๆ มีส่วนร่วมในการรณรงค์ในเรื่องความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง
 

ผู้รับผิดชอบ 
1. ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักปลัดเทศบาลเป็นผู้รับผิดชอบหลัก
2. กองวิชาการและแผนงาน
3. ประธานชุมชน

2.3 ด้านบุคลากร

แนวทางปฏิบัติ
1. จัดเตรียมและมอบหมายเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกำหนดวิธีการปฏิบัติตามหน้าที่และขั้นตอนต่างๆ
2. 
จัดการฝึกอบรม สัมมนา และกิจกรรมเพื่อการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งให้ความรู้ในเรื่องขนบธรรมเนียม ประเพณี ข้อห้าม ข้อจำกัดของชุมชน
3. เสริมสร้างศักยภาพชุมชนโดยการฝึกอบรมประชาชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การช่วยเหลือตนเอง ผู้อื่น และชุมชน เมื่อเกิดภัยรวมทั้งการขับขี่ยานพาหนะในพื้นที่ประสบภัย
4. 
จัดทำบัญชีรายชื่อและข้อมูลเครื่องมือ เครื่องจักร ยานพาหนะ รวมทั้งข้อมูลทักษะ ความชำนาญ ในการปฏิบัติงานขององค์การสาธารณกุศลเพื่อเตรียมความพร้อมและมอบภารกิจในการปฏิบัติการขององค์การสาธารณกุศลในเขตพื้นที่และพื้นที่ข้างเคียง 

ผู้รับผิดชอบ 
1. ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักปลัดเทศบาลเป็นผู้รับผิดชอบหลัก
2. กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยท้องถิ่น
3. ประธานชุมชน
4. องค์กรสาธารณกุศล
5. อปพร.,อสม.,อาสาสมัครต่างๆ

2.4 ด้านเครื่องจักรกล ยานพาหนะ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ และพลังงาน

แนวทางปฏิบัติ
1. จัดเตรียมเครื่องจักรกล ยานพาหนะ เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อมใช้งานได้ทันที
2. 
จัดทำบัญชีเครื่องจักรกล ยานพาหนะ เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ของหน่วยงานภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน
3. ปรับปรุง ซ่อมแซมเครื่องจักรกล เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ด้านสาธารณภัยให้มีความพร้อมใช้งาน
4. 
จัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นพื้นฐานสำหรับชุมชน
5. จัดเตรียมเชื้อเพลิงสำรอง/พลังงานสำรอง
6. กำหนดจุดระดมทรัพยากร เพื่อการบรรเทาสาธารณภัยและการอพยพ     
 

ผู้รับผิดชอบ 
1. ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักปลัดเทศบาลเป็นผู้รับผิดชอบหลัก
2. สำนักการช่าง
3. ตำรวจ
4. สำนักสวัสดิการสังคม
5. กองวิชาการและแผนงาน

2.5 ด้านการแจ้งข่าว เฝ้าระวัง และเตือนภัย

แนวทางปฏิบัติ
1. จัดตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุด่วนสาธารณภัย
2. 
ส่งเสริมการเรียนรู้ ซักซ้อมความเข้าใจ ในระบบการแจ้งข่าวการรายงานและเตือนภัยการใช้สัญญาณเตือนภัยหรือสัญลักษณ์การเตือนภัย เช่น การใช้ธงสี เขียว เหลือง แสด แดงแก่ประชาชน รวมทั้งการปฏิบัติเมื่อได้รับการแจ้งข่าวหรือเตือนภัย โดยให้ประชาชนตระหนักว่าปรากฏการณ์ธรรมชาติไม่ได้เป็นภัยพิบัติเสมอไป แต่หากมีความประมาท ขาดการเตรียมความพร้อม ก็อาจได้รับอันตรายจากภัยพิบัติ
3. 
ติดตามการรายงานสภาพอากาศปรากฏการณ์ธรรมชาติ ข้อมูลสถานการณ์น้ำ และการแจ้งข่าว การเตือนภัย จากกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับเหนือขึ้นไป และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมอุตุนิยมวิทยา กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมอุทกศาสตร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมทรัพยากรธรณี กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ รวมทั้งสื่อต่างๆ เพื่อรวบรวมข้อมูล เฝ้าระวัง วิเคราะห์ ประเมินแนวโน้มการเกิดภัย ดำเนินการแจ้งข่าวให้ประชาชนทราบถึงระยะเวลา ภาวะที่จะคุกคาม (อันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน) เป็นระยะๆ และให้ความสำคัญกับผู้ที่ต้องช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ เช่น คนพิการ ทั้งนี้ความถี่ของการแจ้งข่าวเตือนภัยขึ้นอยู่กับแนวโน้มการเกิดภัย
4. จัดให้มีอาสาสมัครและเครือข่ายเฝ้าระวังและแจ้งข่าวเตือนภัยระดับชุมชน ทำหน้าที่ติดตาม เฝ้าระวังปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มีแนวโน้มการเกิดภัย แจ้งข่าวเตือนภัยแก่ชุมชน และรายงานสถานการณ์แก่กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยท้องถิ่น โดยใช้ระบบการสื่อสารเครื่องมือแจ้งเตือนภัยของชุมชน
5. ประกาศยกเลิกสถานการณ์เมื่อพิสูจน์ทราบแน่ชัดว่าไม่มีภัยมาถึง   

ผู้รับผิดชอบ 
1. ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักปลัดเทศบาลเป็นผู้รับผิดชอบหลัก
2. สำนักการช่าง
3. อปพร.
4. ประธานชุมชน

2.6 ด้านการเตรียมรับสถานการณ์

แนวทางปฏิบัติ
1. จัดประชุมหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เช่น สถานพยาบาล ไฟฟ้า ประปา ผู้นำชุมชน ฯลฯ
2. 
มอบหมายภารกิจความรับผิดชอบให้แก่เจ้าหน้าที่และหน่วยงานนั้น
3. กำหนดผู้ประสานงานที่สามารถติดต่อได้ตลอดเวลาของแต่ละหน่วยงาน
 

ผู้รับผิดชอบ 
1. ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักปลัดเทศบาลเป็นผู้รับผิดชอบหลัก
2. สำนักสวัสดิการสังคม

2.7 ด้านการการอพยพ

แนวทางปฏิบัติ
1. จัดทำคู่มือการอพยพ คู่มือการช่วยเหลือตนเองเบื้องต้นเมื่อมีภัยพิบัติหรือแนวทางการปฏิบัติ ในการมาอยู่ในพื้นที่รองรับการอพยพที่สั้นและง่ายต่อการทำความเข้าใจให้ประชาชนได้ศึกษา
2. 
ดำเนินการสำรวจพื้นที่ กำหนดสถานที่ปลอดภัย เพื่อรองรับการอพยพประชาชน สัตว์เลี้ยงและปศุสัตว์ โดยแยกระหว่างคนกับสัตว์
3. ประชุมชุมชนเพื่อรับทราบข้อมูลและซักซ้อมขั้นตอนการอพยพ รวมทั้งทบทวนขั้นตอนและฝึกซ้อมการอพยพ รวมถึงการสื่อสารในระหว่างการอพยพ
4. จัดให้มีป้ายแสดงสัญญาณเตือนภัยป้ายบอกเส้นทางอพยพ
5. กำหนดเส้นทางหลักและเส้นทางรองสำหรับการอพยพ ซึ่งไม่ขัดขวางการปฏิบัติของหน่วยงาน
6. จัดเตรียม เครื่องมือ อุปกรณ์ ยานพาหนะที่จำเป็นต่อการอพยพ
7. 
จัดลำดับความสำคัญของการอพยพ โดยจัดแบ่งประเภทของบุคคลตามลำดับความจำเป็นเร่งด่วน รวมทั้งกำหนดจุดนัดหมายประจำชุมชนเพื่อไปยังพื้นที่รองรับการอพยพ
8. จัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์เพื่อการสื่อสาร พร้อมทั้งทดสอบระบบการสื่อสาร เครื่องมือสื่อสาร และปรับปรุงให้พร้อมใช้งาน สามารถดำรงการสื่อสารได้ตลอดเวลา ทั้งวิทยุสื่อสาร โทรศัพท์พื้นฐาน รวมทั้งโทรศัพท์เคลื่อนที่
9. จัดเตรียมแบบลงทะเบียนผู้อพยพเพื่อให้ทราบจำนวนผู้อพยพและผู้ที่ยังไม่อพยพ
10. จัดระบบรักษาความปลอดภัยในพื้นที่อพยพและที่พักผู้อพยพ
11. จัดทำบัญชีสถานที่ปลอดภัยที่จัดเป็นศูนย์พักพิงชั่วคราว ในพื้นที่เพื่อรองรับผู้ประสบภัย  
 

ผู้รับผิดชอบ 
1. ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักปลัดเทศบาลเป็นผู้รับผิดชอบหลัก
2. สำนักสวัสดิการสังคม
3. สำนักการช่าง
4. 
ประธานชุมชน
5. ผู้บริหารสถานศึกษา
6. อปพร.,อสม.,อาสาสมัครต่างๆ