1. การเฝ้าระวัง ติดตาม และรายงานสถานการณ์
แนวทางปฏิบัติ
1. จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ภัยตลอด 24 ชั่วโมง และประสานประธานชุมชน รวมทั้งอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแจ้งเตือนภัย เพื่อเตรียมพร้อมเฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์ภัยอย่างต่อเนื่อง และให้รายงานสถานการณ์การเกิดภัยมายังเทศบาลนครขอนแก่น
โทรศัพท์หมายเลข 043-221184 ,1213
วิทยุสื่อสาร ความถี่ 162.550 MHz
โทรศัพท์สายด่วนหมายเลข 199
2. รายงานสถานการณ์การเกิดภัย ไปยังกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอ และจังหวัดทางหมายเลขโทรศัพท์/โทรสาร 043-236115 ,043-331158 ตามแบบรายงานเหตุด่วนสาธารณภัย
ผู้รับผิดชอบ
1. ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักปลัดเทศบาลเป็นผู้รับผิดชอบหลัก
2. สำนักการช่าง
3. ตำรวจ
4. ประธานชุมชน
5. อปพร.,อาสาสมัครต่างๆ
2. การประเมินสถานการณ์
แนวทางปฏิบัติ
1. วิเคราะห์และประเมินสถานการณ์การเกิดภัย เพื่อการตัดสินใจแก้ปัญหาโดยพิจารณาเรื่อง ความรุนแรง ระยะเวลาการเกิดภัย พื้นที่ และประชาชนผู้ที่จะได้รับผลกระทบ ความอ่อนแอ เปราะบาง และความสามารถของพื้นที่ในการรับภัยแนวโน้มการเกิดภัยซ้ำขึ้นอีก รวมถึงภัยที่เกิดตามมา (Secondary disaster) รวมถึงภัยที่มีความซับซ้อน (Complex Disasters) เพื่อกำหนดแนวทางการตอบโต้ภัยและการแจ้งเตือนภัย
2. กำหนดพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบ แบ่งเป็น 3 พื้นที่ พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่เข้าในพื้นที่เพื่อติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง โดยแบ่งพื้นที่ได้รับผลกระทบออกเป็น 3 พื้นที่ ดังนี้
2.1 พื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบรุนแรง (เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด)
2.2 พื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบปานกลาง (เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์)
2.3 พื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบน้อย (เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์)
ผู้รับผิดชอบ
1. ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักปลัดเทศบาลเป็นผู้รับผิดชอบหลัก
2. สำนักการช่าง
3. ตำรวจ
4. ประธานชุมชน
5. อปพร.,อาสาสมัครต่างๆ
3. การแจ้งเตือนภัย ประชาสัมพันธ์ และจัดการข่าวสาร
แนวทางปฏิบัติ
1. ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของข้อมูลการเกิดภัยจากประธานชุมชน อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน แจ้งเตือนภัย กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับเหนือขึ้นไป รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนแจ้งเตือนภัยผ่านช่องทางการสื่อสารทุกชนิด
2. ดำเนินการแจ้งเตือนการเกิดภัยไปยังชุมชนพื้นที่ที่ประสบภัยและพื้นที่ข้างเคียง โดยสื่อต่างๆ เช่น โทรศัพท์ หรือวิทยุสื่อสาร เครื่องมืออุปกรณ์การเตือนภัยที่มีอยู่ของชุมชนเช่น วิทยุชุมชนหอกระจายข่าวประจำชุมชน โทรโข่ง เป็นต้น
3. ข้อมูลการแจ้งเตือนภัยนั้นต้องชัดเจน ทันเวลา ถูกต้อง และเข้าใจง่ายเป็นข้อมูลที่บอกถึงอันตรายที่กำลังเกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สิน อันได้แก่ ลักษณะ ขนาด จุดที่เกิดภัย รัศมีความเสียหายตามพื้นที่การปกครอง ช่วงเวลา ระยะเวลา ภัยจะรุนแรงยิ่งขึ้นหรือไม่ และประชาชนต้องปฏิบัติอย่างไร หรือต้องมีการอพยพหรือไม่ รวมทั้งวิธีการแจ้งเหตุ หมายเลขโทรศัพท์ และการสื่อสารอื่นๆ โดยแจ้งเตือนภัยจนกว่าสถานการณ์ภัยจะสิ้นสุด
4. เมื่อสถานการณ์เลวร้ายและจำเป็นต้องอพยพ ให้ดำเนินการออกคำสั่งเพื่ออพยพประชาชนไปยังที่ปลอดภัย
5. ในกรณีเกิดไฟฟ้าดับ การสื่อสาร เครื่องมือ สัญญาณเตือนภัย ไม่สามารถใช้ได้ ให้ใช้สัญลักษณ์การเตือนภัย เช่น ธง นกหวีด หรือการเตือนภัยอื่นที่ได้มีการซักซ้อมความเข้าใจกับประชาชนไว้แล้ว
6. จัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการให้ข้อมูลเท่าที่จำเป็นเกี่ยวกับการดำเนินการของศูนย์บัญชาการเหตุการณ์แก่สื่อมวลชน และประชาชนรวมทั้งรับฟังข้อคิดเห็น ข้อมูล ข้อเรียกร้องของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัย หรือจากการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่
ผู้รับผิดชอบ
1. ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักปลัดเทศบาลเป็นผู้รับผิดชอบหลัก
2. สำนักการช่าง
3. ประธานชุมชนทั้ง 95 ชุมชน
4. อปพร.,อาสาสมัครต่างๆ