1. การจัดทำแผนฟื้นฟูผู้ประสบภัย
แนวทางปฏิบัติ
ประชุมหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำแผนฟื้นฟูผู้ประสบภัยด้านต่างๆ เช่น ที่อยู่อาศัย อาหาร น้ำดื่ม ระบบสุขาภิบาล อาชีพ การศึกษา สุขภาพ อนามัย และจิตใจของผู้ประสบภัย โดยอาศัยข้อมูลพื้นฐานของชุมชน ด้านประชากร เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งข้อมูลด้านความเสียหายจากภัยพิบัติ และความอ่อนแอ ความล่อแหลมต่อการเกิดภัยพิบัติในชุมชน
ผู้รับผิดชอบ
1. ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักปลัดเทศบาลเป็นผู้รับผิดชอบหลัก
2. สำนักการคลัง
3. สำนักการช่าง
4. สำนักสวัสดิการสังคม
5. สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
6. ประธานชุมชน
7. อื่นๆ ตามความเหมาะสม
2. การบรรเทาทุกข์
แนวทางปฏิบัติ
1. จัดตั้งหน่วยบรรเทาทุกข์
2. ปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บและผู้ป่วยรวมทั้งส่งต่อไปยังสถานพยาบาล โรงพยาบาล
3. ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในระยะแรก
4. สนับสนุนเครื่องอุปโภค บริโภคน้ำดื่ม อาหาร และสิ่งจำเป็นเบื้องต้นแก่การดำรงชีพ
5. รักษาความปลอดภัยแก่บุคคล สถานที่ และระบบสาธารณูปโภคร่วมกับหน่วยรักษาความปลอดภัยในพื้นที่
ผู้รับผิดชอบ
1. ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักปลัดเทศบาลเป็นผู้รับผิดชอบหลัก
2. สำนักสวัสดิการสังคม
3. สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
4. ประธานชุมชน
5. อปพร./อาสาสมัครต่างๆ
6. อื่นๆ (ตามความเหมาะสม)
3. การให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟู
แนวทางปฏิบัติ
1. จัดให้มีคณะทำงานสำรวจความเสียหายและส่งเจ้าหน้าที่เพื่อสำรวจความเสียหายเบื้องต้นเข้าในพื้นที่ เพื่อจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ประสบภัยและทรัพย์สินที่เสียหาย
2. ออกหนังสือรับรองผู้ประสบภัยรวมทั้งจัดทำทะเบียนสัตว์ตายและสูญหาย โดยรายงานความเสียหายและแนวทางการฟื้นฟูไปยังกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอและจังหวัด
3. สงเคราะห์ผู้ประสบภัยเบื้องต้นตามบัญชีที่สำรวจ
4. ดำเนินการช่วยเหลือซ่อมสร้างและบูรณะที่พักอาศัย เครื่องมือเครื่องใช้เพื่อการหาเลี้ยงชีพ และสาธารณูปโภคให้ใช้การได้ในเบื้องต้น
5. ฟื้นฟูสภาพจิตใจและความเป็นอยู่ของประชาชน
6. รักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วย และจัดบริการด้านสาธารณสุขแก่ผู้ประสบภัยรวมทั้งป้องกันโรคที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติทั้งคนและสัตว์
ผู้รับผิดชอบ
1. ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักปลัดเทศบาลเป็นผู้รับผิดชอบหลัก
2. สำนักการคลัง
3. สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
4. สำนักการช่าง
5. สำนักสวัสดิการสังคม
6. ประธานชุมชน
7. หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น แรงงานจังหวัด พัฒนาชุมชนจังหวัด,พมจ. สสจ ฯลฯ
4. การรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัย
แนวทางปฏิบัติ
1. จัดตั้งหน่วยรักษาความสงบเรียบร้อยและควบคุมความปลอดภัย
2. กำหนดมาตรการความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน เช่น การสวมใส่อุปกรณ์นิรภัย การตรวจสอบความพร้อมของร่างกาย
3. กำหนดแนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันผลกระทบหรือการเกิดภัย ซ้ำขึ้นอีกรวมถึงภัยที่เกิดตามมา (Secondary disaster ) และภัยที่มีความซับซ้อน (Complex Disasters)
ผู้รับผิดชอบ
1. สำนักปลัดเทศบาล/เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นผู้รับผิดชอบหลัก
2. สำนักการช่าง
3. ประธานชุมชน
4. อปพร.
5. อื่นๆ (ตามความเหมาะสม)